
พวงหรีดวัดหัวลำโพง จะมาเจาะลึกประวัติวัดหัวลำโพง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัด ในใจกลางกรุงย่าน สามย่าน ที่พอพูดถึงทุกคนก็รู้จักทันที แต่ทุกๆท่านเคยทราบไหมว่าประวัติความเป็นมาของวัดที่สวยงามใจกลางเมืองจะมีตำนานรักวัดหัวลำโพง อาจจะฟังดูคุ้นๆหูมาแล้วบ้าง แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกไม่ใช้แค่ความเป็นมาของวัดหัวลำโพงแต่ยังรวมถึงตำนานรักวัดหัวลำโพง ตำนาน สีดา วัดโลงคู่ อีกด้วย
วัดหัวลำโพง (เดิมชื่อ "วัดวัวลำพอง") เป็นวัดราษฎร์ที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเรื่องการสร้าง แต่คาดว่ามีก่อสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ดั้งเดิมของวัด
มีความเชื่อว่าหลังจากในปี พ.ศ. 2310 อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาถูกทำลาย ชาวบ้านบางส่วนที่หนีตายออกมาได้อพยพครอบครัวลงมาทางใต้และตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบัน จากเหตุนี้เห็นว่าเป็นที่พักที่ยังไม่มีเจ้าของและมีลำคลองเชื่อมโยงให้สะดวกต่อการสัญจร
ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัว พวกเขาร่วมกันสร้างวัดขึ้นสำหรับชุมชนและตั้งชื่อวัดวัวลำพองตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะเกี่ยวข้องกับชื่อหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างทางรถไฟครั้งแรกในประเทศไทย และตั้งชื่อสถานีกรุงเทพฯว่า "สถานีหัวลำโพง" ที่ห่างออกจากวัดวัวลำพองประมาณ 2 กิโลเมตร
ประมาณปี พ.ศ. 2447 จากหลักฐานและการบอกเล่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐิน ณ วัดต่าง ๆ สามแห่ง ได้แก่ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง)
ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินที่วัดวัวลำพอง พระบรมราชโอรสของพระราชาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดหัวลำโพง" และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์เจ้าอาวาสแก่พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียงในครั้งนั้น ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 วัดหัวลำโพงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งยกระดับวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ